News | 08 Dec 2022
COP27
COP27 คืออะไร? และมีสาระสำคัญอย่างไร ที่เราควรรู้บ้าง?
COP หรือ Conference of the Parties นั้น เป็นการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นเพื่อหารือแนวทางรับมือกับภาวะโลกร้อน มุ่งหวังควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นก๊าซต้นเหตุ ไม่ให้ถึงจุดที่มนุษย์และโลกได้รับผลกระทบร้ายแรงนั่นเอง โดย COP จัดขึ้นครั้งแรกในปี 1992 มีรัฐภาคีที่เข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ เพื่อนำเสนอแผนและรายงานความคืบหน้าเกือบทุกๆปี
ล่าสุดได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 27 เมื่อช่วงวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 ณ ประเทศอียิปต์ เมืองชาร์มเอลชีค โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 35,000 คน ซึ่งประเด็นสำคัญจากการประชุมระดับนานาชาติครั้งนี้ มุ่งเน้นที่ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชย “ความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage)” อันเกิดจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ข้อสรุปสำคัญ มีดังต่อไปนี้
1. จัดตั้งคณะกรรมการกำกับกองทุนช่วยเหลือกลุ่มประเทศเปราะบาง และจะเริ่มกำหนดกลไกใหม่ของการให้ทุนขึ้นในปี 2023 โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กที่มีการปล่อยน้อยแต่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างหนัก จึงเรียกร้องให้เพิ่มเงินทุนสำหรับชดเชยความสูญเสียและเสียหายอันเกิดจากประเทศร่ำรวย ซึ่งก่อมลพิษจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลานาน เช่น ประเทศตูวาลู ที่เป็นหมู่เกาะและมีความเสี่ยงจมหายจากการขึ้นสูงของน้ำทะเล เป็นต้น
2. ย้ำถึงคำสัญญาใน COP26 อีกครั้ง ว่าจะต้องระดมเงินทุน 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี เข้ากองทุนเพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศยากจน เพื่อใช้ในการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน รวมทั้งสนับสนุนด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยไทยเราเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนในส่วนนี้
3 . ย้ำถึงเป้าหมายเดิมจากการประชุม ณ ปารีส (COP21) ที่จะรักษาไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม และพยายามไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100 และย้ำคำสัญญาของนานาประเทศจากการประชุม ณ กลาสโกว์ (COP26) ที่มุ่งเป้าเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) หากแต่การประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีความเข้มข้นด้านการเร่งรัดเป้าหมายทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้เข้าร่วมการเจรจาจากหลายฝ่ายต่างผิดหวังในส่วนนี้
4. เกิดแผนการบรรเทาภาวะโลกร้อนฉบับใหม่ ที่จะมีการใช้ไปจนถึงปี 2030 คือ ร้องขอให้รัฐภาคีรายงานแผนและเร่งรัดเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศในปีถัดไป รวมทั้งความพยายามในการลดการใช้ถ่านหินและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวไม่ได้เรียกร้องให้หยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด รวมทั้งไม่ได้กล่าวถึงการใช้แก๊สและน้ำมัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของภาวะโลกร้อน
5. ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าต้องใช้เงินลงทุนกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ลงทุนในพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
Writer
พบพร วิตนากร (หมิว)
Business Analyst
Share
Other News & Updates
29 Dec 2022 | News
คาร์บอนเครดิตสร้างรายได้ ได้จริงหรือ?
คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม มีหน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวมานั้น จะต้องมีการดำเนินโครงการที่มีการวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบของมาตรฐานคาร์บอนเครดิต โดยการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตมาตรฐานของประเทศไทยจะต้องสมัครขึ้นทะเบียนโครงการภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งมีผู้ให้
20 Dec 2022 | News
Green loan การกู้ยืมสีเขียว
Green loan หรือการกู้ยืมสีเขียว คืออะไร? Green loan เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินสำหรับตอบสนองต่อผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
14 Dec 2022 | News
การรีไซเคิล คือ คำตอบของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก จริงเหรอ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งในการการดื่มกิน ใช้สวมใส่ ใช้ช้อปปิ้ง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตเรา เนื่องจากพลาสติกมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ราคาถูก สามารถหล่อเป็นสิ่งต่างๆได้นับพันชนิด ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตปัจจุบัน