News | 14 Dec 2022

การรีไซเคิล คือ คำตอบของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก จริงเหรอ?

Ref: rawpixel, Teddy

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งในการการดื่มกิน ใช้สวมใส่ ใช้ช้อปปิ้ง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตเรา เนื่องจากพลาสติกมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ราคาถูก สามารถหล่อเป็นสิ่งต่างๆได้นับพันชนิด ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตปัจจุบัน

แต่ปัญหาอยู่ที่พลาสติกนั้นไม่สามารถย่อยสลายไปได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 200 ปี ในขณะที่การผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุกๆ 10 ปี จนทุกวันนี้โลกเรามีผลิตภัณฑ์พลาสติกออกมาสู่ท้องตลาดมากกว่า 300 ล้านตันต่อปี ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปโลกคงเต็มไปด้วยพลาสติกแน่

แล้วการแก้ปัญหาการกำจัดพลาสติกทั้งหมดนั้นง่ายเพียงด้วยการรีไซเคิลหรือไม่??  คำตอบคือ ใช่ แต่ไม่มากพอ เนื่องจากพลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่มีเพียง 9% นอกนั้นถูกนำไปฝัง เผา ทิ้งลงตามแหล่งธรรมชาติ ในหลายประเทศที่ไม่มีระบบรวบรวมขยะที่ดีพอ ขยะจำนวนมากจะอยู่ตามริมพื้นที่ชุ่มน้ำหรือลำธารต่างๆ พอน้ำท่วมก็จะไหลลงแม่น้ำและมหาสมุทร ซึ่งเท่ากับรถบรรทุกขยะพลาสติก 1 คันเทลงมหาสมุทรทุกนาทีทุกวันทุกปี โดยสาเหตุที่พลาสติกส่วนใหญ่นั้นรีไซเคิลไม่ได้ เนื่องจากพลาสติกบางประเภทอย่าง ถุงพลาสติก โรงแยกขยะจะไม่นำไปรีไซเคิล เพราะปัญหาการอุดตันในเครื่องจักร หรือพลาสติกที่มีสารเติมแต่งภายในที่มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันเมื่อมาอยู่รวมกันก็ไม่สามารถแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ต่อ สุดท้ายของเหล่านี้จะตรงไปที่ถังขยะฝังกลบ หรือตามแหล่งธรรมชาติ ตราบใดที่เรายังไม่มีวิธีกำจัดที่ดีกว่านี้

Ref: Unsplash, Antoine GIRET

ถ้างั้น การรีไซเคิลเป็นเทคโนโลยีใหม่เหรอ? เรายังเพิ่งเริ่มต้นไม่นานหรือเปล่า?

การรีไซเคิลพลาสติกเป็นกระแสทางสิ่งแวดล้อมที่คนเริ่มตระหนักตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1970 ที่จะมีการรีไซเคิลกันอย่างจริงจัง แต่กลับทำให้ผู้ผลิตพลาสติกคิดได้ว่า หากพวกเขาสามารถโน้มน้าวให้ทุกคนรีไซเคิลขวดพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ต่างๆได้ พวกเขาก็จะขายมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น ประเทศที่เริ่มผลิตและบริโภคพลาสติกอย่างอเมริกาก็ได้สร้างสัญลักษณ์ลูกศรวนขึ้น เป็นความพยายามโดยสมัครใจในการให้ผู้คนแยกพลาสติกออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างที่เราเห็นกัน ซึ่งมีเพียงกลุ่มหมายเลข 1 2 และ 5 เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิลอย่างแพร่หลายที่ผู้ซื้อตั้งใจจะนำไปรีไซเคิลจริงๆ โดยมีตลาดเพียงเล็กน้อยสำหรับกลุ่มอื่นๆ

Ref: GOODHOUSEKEEPING, Brian Clark Howard and Amina Lake Abdelrahman

เมื่อการรีไซเคิลเริ่มเป็นบรรทัดฐาน แต่ใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง ไม่นาน ค.ศ. 1988 ก็กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นใช้เงินลงทุนน้อยลง เมื่อจีนรับนำเข้าพลาสติกจากทั่วโลกเกือบ 75% ของพลาสติกทั้งหมด โดยตลอด 20 ปี จีนสามารถรีไซเคิลพลาสติกจำนวนหลายล้านตันทุกปีจนกระทั่ง ค.ศ. 2017 จีนหยุดการทำหน้าที่เป็นถังขยะรีไซเคิลของโลก เนื่องจากมลภาวะทางอากาศจากการเผาขยะส่วนเกินจากการรีไซเคิล โดยจุดหมายต่อไปของขยะรีไซเคิลจึงตกไปอยู่ในโซนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างที่เราทราบกัน ซึ่งถึงแม้ว่าโรงงานรีไซเคิลในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ก็ยังไม่สามารถรองรับพลาสติกจำนวนมมหาศาลที่เข้ามาในประเทศได้อยู่ดี ส่วนที่เหลือจึงถูกทิ้งตามแหล่งธรรมชาติเช่นเดิม

จนถึงตอนนี้ ผลกระทบจากการทิ้งพลาสติกตามแหล่งธรรมชาติโดยเฉพาะปลายทางที่เป็นมหาสมุทร เกิดการย่อยสลายและแตกตัวจนกลายเป็นไมโครพลาสติก ที่สัตว์ต่างๆมักจะกินเข้าไป แล้วเราก็กินสัตว์เหล่านั้นต่ออีกที จากการศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน และโอกาสที่จะเป็นหมัน

Ref: Freepik, jcomp

ฉะนั้น คำถามก็คือว่าเราจะทำอะไรได้บ้างกับปัญหาขยะพลาสติก ในด้านผู้บริโภครายย่อย เราต้องเริ่มจากการลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุดจนไม่มีการทิ้งพลาสติกเลย หรือที่คนนิยมเรียกว่า “Zero Waste” เช่น เวลาไปซุปเปอร์มาร์เก็ตก็พกถุงผ้าถุงตาข่ายไปใส่ของ เลือกซื้อสินค้าอาหารผักผลไม้ที่ตักเติมใส่ถุงที่เราพกมาได้ เพราะทุกครั้งที่เราใช้หรือซื้ออะไรซักอย่างที่ทำจากพลาสติก พลาสติกก็ต้องผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะกำจัดการใช้พลาสติกจากชีวิตของตัวเองได้ แต่อย่างน้อยการเปลี่ยนพฤติกรรมก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ส่วนการรีไซเคิลเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาเท่านั้น

Ref: Unsplash, Milada Vigerova

นอกจากนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงวิกฤตการณ์ดังกล่าว บางประเทศมีการสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติก และพลาสติกประเภทที่ใช้แล้วทิ้งโดยเด็ดขาด รวมถึงดำเนินมาตรการภาษีคาร์บอนกับบริษัทต่างๆ ที่บริษัทนั้นต้องปรับตัว บันทึกสิ่งของที่ผลิตหรือบริโภคในห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของธุรกิจ ซึ่งพลาสติกเป็นหนึ่งในสิ่งที่บริษัทควรหลีกเลี่ยง

สำหรับในด้านวิทยาศาสตร์ก็เริ่มออกแบบพลาสติกให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ไปจนถึงการสร้างสารเคมีใหม่ๆที่ไม่เป็นสารเคมีรบกวนระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์ หรือที่เราเรียกกันว่าไบโอพลาสติก โดยมันจะเป็นตัวเลือกที่สามารถย่อยสลายได้แทนที่การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก อย่างไรก็ตาม ไบโอพลาสติกจะย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะควบคุมจากโรงงานกำจัดขยะเฉพาะทางเท่านั้น หากนำไปฝังดินโดยตรงก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานเหมือนกับพลาสติกอื่นๆ ฉะนั้น ต้องแยกขยะไบโอพลาสติกออกจากขยะอื่นๆอย่างชัดเจน ซึ่งสังเกตได้จากสัญลักษณ์ลูกศรวนกลุ่มหมายเลข 7

Ref: PTTGC

แต่ท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมส่วนบุคคลก็ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญ แม้จะมีไบโอพลาสติกเกิดขึ้นมาหรือไม่ บริษัทปิโตรเคมีออกมาตรการในการลดจำนวนพลาสติกที่ผลิตหรือไม่ รัฐบาลออกมาตรการบทปรับที่ดีพอหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยภายนอก หากเราไม่ใส่ใจยังคงเพิ่มอุปสงค์พลาสติกต่อไป ก็จะมีอุปทานมาตอบสนองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องเริ่มที่ตัวเราเป็นสำคัญ

Writer

บรมัตถ์ ต่างวิวัฒน์ (บุ๋น)

Business Analyst






Share


Other News & Updates

29 Dec 2022 | News

คาร์บอนเครดิตสร้างรายได้ ได้จริงหรือ?

คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม มีหน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวมานั้น จะต้องมีการดำเนินโครงการที่มีการวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบของมาตรฐานคาร์บอนเครดิต โดยการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตมาตรฐานของประเทศไทยจะต้องสมัครขึ้นทะเบียนโครงการภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งมีผู้ให้

20 Dec 2022 | News

Green loan การกู้ยืมสีเขียว

Green loan หรือการกู้ยืมสีเขียว คืออะไร? Green loan เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินสำหรับตอบสนองต่อผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

08 Dec 2022 | News

COP27

COP27 คืออะไร? และมีสาระสำคัญอย่างไร ที่เราควรรู้บ้าง? COP หรือ Conference of the Parties นั้น เป็นการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นเพื่อหารือแนวทางรับมือกับภาวะโลกร้อน มุ่งหวังควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นก๊าซต้นเหตุ ไม่ให้ถึงจุดที่มนุษย์และโลกได้รับผลกระทบร้ายแรงนั่นเอง โดย COP จัดขึ้นครั้งแรกในปี 1992 มีรัฐภาคีที่เข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ เพื่อนำเสนอแผนและรายงานความคืบหน้าเกือบทุกๆปี Ref: https://www.iberdrola.com/sustainability/international-agreements-on-climate-change ล่าสุดได้จ

logo

139 Sethiwan Tower, 4th Floor, Pan Rd, Silom, Bang Rak, Bangkok 10500
+66 8 4034 4240
[email protected]

Follow Us

newnewnew